Author Topic: Low Cost ไทย แบรนด์ไหนเจ๋ง แอร์เอเชีย-นกแอร์-วันทูโก  (Read 12237 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline DuraSail

  • จิตใจของฉันแข็งแกร่งดั่ง
  • Moderator
  • ราชาเทวะ
  • ***
  • Posts: 2,592
"โลว์คอสต์ไทย" แบรนด์ไหนเจ๋ง ! ไทย แอร์เอเชีย-นกแอร์-วันทูโก

เมื่อ 45 ปีที่ผ่านมาโอกาสที่จะได้เดินทางโดยเครื่องบินเป็นได้แค่ความฝันของคนไทยจำนวนมาก พอปี 2546 รัฐบาลเปิดน่านฟ้าเสรีในประเทศ สิทธิการบินที่เคย ตกอยู่ใน มือสายการบินแห่งชาติ "การบินไทย" ทั้งหมดถูกจัดระเบียบครั้งใหญ่ โดยมีธุรกิจคู่แข่งแจ้งเกิด "สายการบินต้นทุนต่ำ/ราคาประหยัด" เรียกว่า Low Cost Cariors : LCCs หรือ Budget Airlines เป็น "ทางเลือกใหม่" ของลูกค้าตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงเศรษฐี ด้วยราคาตั๋วแสนถูกเริ่มต้นเที่ยวละ 9 บาท, 99 บาท, 999 บาท
สนามการแข่งขันอุตสาหกรรมการบินเมืองไทยเปลี่ยนโฉมภายในพริบตา ผู้โดยสารในประเทศทั้งคนไทยและ ต่างชาติเติบโตแบบก้าวกระโดดจากเดิมปีละ 8 ล้านคน เพิ่มเป็น 14 ล้านคนทันที จากการแจ้งเกิดการลงทุนที่ ต่างฝ่ายต่างมีวิทยายุทธ์ จุดแข็ง และ ทักษะ

การพัฒนาธุรกิจต่างกันทั้ง 3 แบรนด์ ได้แก่ "โอเรียนท์ไทย" บุกเบิกเป็นสายแรก เปิดเที่ยวปฐมฤกษ์ 5 ธันวาคม 2546 ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ระยะแรกใช้ฝูงบินไตรสตาร์-L1011 จัมโบ้รุ่นเก่าขนาดบรรทุกเกิน 400 ที่นั่ง "ไทย แอร์เอเชีย" ไล่ตามมาติด ๆ เมื่อกุมภาพันธ์ 2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท ด้วยฝูงบินนำร่องโบอิ้ง B737-400 ส่วน "นกแอร์" เปิดเป็น รายสุดท้ายเพราะ กว่าบริษัทแม่การบินไทยจะตั้งหลักก็ผ่านไปปีกว่า เริ่มดำเนินการเมื่อพฤษภาคม 2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท แซงหน้าทุกค่าย ใช้ฝูงบินรุ่นเดียวกับไทย แอร์เอเชีย คือ โบอิ้ง B737-400 เช่าจากการบินไทย 3 ลำ จุดเริ่มของแบรนด์โลว์คอสต์ทั้ง 3 สายการบินต่าง "คิดการใหญ่" เหมือน ๆ กัน คือ จะเข้ามาเขมือบ ส่วนแบ่ง การตลาดแทนที่สายการบินแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดธุรกิจมายาวนานถึง 4 ทศวรรษ แต่ความสำเร็จของทุกแบรนด์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยชั้นเชิงการวาง "กลยุทธ์" ทำทุกวิถีทางเพื่อจะเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจลูกค้า ช่วงชิงกำลังซื้อมาครอบครองให้ได้ตามเป้าประสงค์

วันนี้โลว์คอสต์แบรนด์ไทยเปิดดำเนินการมา 6 ปี ประเมินจากการขยาย เครือข่ายเส้นทางบริการ "ไทย แอร์เอเชีย" ธุรกิจพันทางซึ่งเกิดจากการร่วมทุนกับ "แอร์เอเชีย มาเลเซีย" ก้าวไปได้ไกลกว่าคู่แข่งหลายขุม ระหว่างตั้งไข่แม้จะเผชิญ วิบาก กรรมการเมืองเนื่องจากเดิมมี "ชินคอร์ป" ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นใหญ่ เปิดบินในประเทศไม่กี่เส้นทางก็ ถูกถล่มอย่างหนัก ต้องตัดสินใจ ขายให้ "ทัศพล แบเลเว็ลด์" ซีอีโอคนปัจจุบันใช้เวลาเพียง 2 ปีเศษ ขยายเส้นทางบินครอบคลุมทั่วทุกภาคในประเทศ 9 จังหวัด อีกทั้งยังรุกเข้าบินไป ต่างประเทศอย่าง รวดเร็วทั่วอาเซียนและเอเชียรวม 18 เมือง 12 ประเทศ ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง ในประเทศ วิกฤตเศรษฐกิจโลก โรคระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 "ไทย แอร์เอเชีย" ยังคงกัดฟันปรับแผนธุรกิจรายเดือนเพื่อรักษาส่วนแบ่งผู้โดยสารในประเทศไว้ให้มากที่สุด ใน ยุคบูมเคยทำได้ถึง 6 ล้านคน พอมายุคนี้แม้จะเหลือเพียง 3 ล้านคน/ปี แต่คิดกลับด้านหันไปพึ่งตลาดในเส้นทางบินต่างประเทศเพิ่มเป็น 6 ล้านคน/ปี สถานะธุรกิจไทย แอร์เอเชีย ปี 2551 มีรายได้รวมสูงถึง 8,983 ล้านบาท แถมมีทรัพย์สินเป็นฝูงบินป้ายแดงแอร์บัส A320 อีก 3-4 ลำ โดยยังคงยืนจุดขายหลัก คือ "ราคา" มีให้เลือกหลากหลาย เหมาะกับตลาดทุกระดับตั้งแต่นโยบายราคา 9 บาท ไปจนถึงหลายพันบาท นโยบายจุดบินสนองความต้องการทุกพื้นที่ และพันธมิตรในกลุ่มท่องเที่ยวแบบครบวงจร (แต่ผมว่า ถ้าเมื่อไห่ต้องเปลี่ยนแปลงการเดินทางล่ะก็ ราคาจะแพงมหาศาลยิ่งกว่าการบินไทยไปเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว: DuraSail)

แล้ว "นกแอร์" กับ "วันทูโก" ทุกวันนี้สุขภาพของธุรกิจ ยังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ ? พาที สารสิน ซีอีโอนกแอร์ กับ อุดม ตันติประสงค์ชัย ประสานเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังแข็งแรงดีในแบบฉบับ "พอเพียง" เมื่อเพลี่ยงพล้ำเพราะ สถานการณ์ภายในทางการเงินและภาพลักษณ์องค์กร ทั้ง 2 แบรนด์ก็ถอยกลับฐานที่มั่นไปตั้งหลักปรับแผนรอจังหวะต่อสู้ในช่วงการท่องเที่ยวขาขึ้นในอีก 1-2 ปี ข้างหน้า"วันทูโก" นั้นโดนผลพวงจากเครื่องบินประสบอุบัติเหตุที่ภูเก็ต ระหว่างฟื้นฟูช่วง ปี 2551 ถึงกลางปี 2552 องค์กรการบินสหภาพยุโรปดันมาแบนซ้ำอีก อ้างเหตุผลโครงสร้างธุรกิจไม่เข้าเกณฑ์สากล เพิ่งจะเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อไม่นานมานี้เอง จึงต้องลดจุดบินในประเทศเหลือเพียง 5 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต หาดใหญ่ ตรัง "นกแอร์" มีปัญหาระหองระแหงกับการบินไทย ถูกมองว่าทำตัวเด่นแข่งกับบริษัทแม่ เปิดเที่ยวบินทับซ้อนกัน จนกลายเป็นช่องโหว่ให้คู่แข่งโจมตีจนโครงสร้างการเงินและส่วนแบ่งตลาดในประเทศเสียหาย เมื่อกลางปี 2552 จึงต้องประกาศลดขนาดองค์กรและเครือข่ายเส้นทางบิน จากเดิมวางแผนจะโกอินเตอร์สู่อาเซียนและเอเชีย เมื่อสะดุดก็ปรับเส้นทางบินเหลือเฉพาะในประเทศเพียง 8 เส้นทาง

ความได้เปรียบ-เสียเปรียบของทั้ง 3 แบรนด์ เฉือนกันตรง "ต้นทุนทางประสบการณ์" ของซีอีโอ ผนวกกับผู้สนับสนุนทางการเงิน เรื่อยไปจนถึง"เครือข่าย เส้นทางบิน" ส่วนสำคัญที่สุด คือ "ราคาตั๋วโดยสาร" ซึ่งเป็นจุดเริ่มและจุดจบของแต่ละแบรนด์ เมื่อผู้โดยสารไม่เลือกใช้ก็เหนื่อยแต่จะทำอย่างไรให้ราคาไม่กลับมาฆ่าธุรกิจตายไปพร้อมกัน โจทย์นี้ต้องยอมรับว่า "ไทย แอร์เอเชีย" ทำได้ดีกว่า คู่แข่งในสนามธุรกิจ ทั้งนกแอร์และวันทูโกควรจะกลับไปคิด คำตอบมาสู้เพื่อเป็นทางเลือกของประชาชน ชิงเป็นเจ้า "เส้นทางบิน" บี้ "ราคาตั๋ว" ไทย แอร์เอเชียแชมป์ใน ปท.-ตปท. เส้นทางบินที่โลว์คอสต์แบรนด์ไทยทั้ง 3 สายการบินแข่งขันและห้ำหั่นกันขยายบริการ ในตารางบินฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่ปลายตุลาคมที่ผ่านมาถึง 28 มีนาคม 2553 นั้น ไทย แอร์เอเชียสามารถเปิดเกมรุกเร็วโดยใช้ฐานสนามบินหลัก 2 แห่ง สุวรรณภูมิกับภูเก็ต จึงทำให้ขยาย เส้นทางบินในประเทศและภูมิภาคเอเชียได้ล้ำหน้ากว่าคู่แข่งอีก 2 สายการบิน คือ นกแอร์ และวันทูโก จะมุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาจุดบินภายในประเทศเป็นหลัก ไทย แอร์เอเชีย - ยึดฐานหลัก 2 สนามบินนานาชาติ "สุวรรณภูมิ" บริการประจำเส้นทางในประเทศ ไป-กลับ กรุงเทพฯ ปลายทางเชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี นราธิวาส นครศรีธรรมราช และอุดรธานี "ภูเก็ต" ไป-กลับ เชียงใหม่ เริ่ม 3 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไป เส้นทางบินระหว่างประเทศ ไป-กลับ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) ไปยังมาเลเซีย เมืองกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง และยะโฮร์บาห์รู พม่า เมืองย่างกุ้ง เวียดนาม เมืองโฮจิมินห์และฮานอย กัมพูชา เมืองพนมเปญ จีน เมืองเสิ่นเจิ้นและกวางโจว อินโดนีเซีย เมืองจาการ์ตาและบาหลี มาเก๊า สิงคโปร์ ฮ่องกง ไทเป และสนามบินนานาชาติ "ภูเก็ต" ไป-กลับ เมดาน จาการ์ตา ฮ่องกง เริ่ม 15 พฤศจิกายน 2552 โฮจิมินห์เริ่ม 3 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไป

สายการบินนกแอร์ - บริการเส้นทางบินในประเทศจะใช้สนามบินนานาชาติดอนเมืองไปจนถึง 31 ธันวาคม 2552 จากนั้นจะย้ายไปใช้สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ระหว่างกรุงเทพฯ ไป-กลับ ปลายทางเชียงใหม่ อุดรธานี ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช หาดใหญ่ ภูเก็ต และทำการขายร่วมโค้ดแชร์กับสายการบิน "เอส จี เอ" ซึ่งใช้สนามบินนานาชาติ เชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ไป-กลับ แม่ฮ่องสอน ปาย อุดรธานี และเชียงราย สายการบินวันทูโก - บริการเส้นทางบินในประเทศจะใช้สนามบิน นานาชาติดอนเมืองไปจนถึง 31 ธันวาคม 2552 จากนั้นจะย้ายไปใช้สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป-กลับ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต หาดใหญ่ ตรัง และโค้ดแชร์กับสายการบินเอส จี เอ บินปาย จ.แม่ฮ่องสอน

สำหรับราคาตั๋วโดยสาร ไทย แอร์เอเชียจะเน้นการทำโปรโมชั่นเปิดให้ซื้อขายล่วงหน้าก่อนเดินทางทุก 3 เดือน ราคาพิเศษ 99-999 บาท/เที่ยว ลอตละ หลักหมื่นที่นั่ง ส่วนตั๋วโดยสารทั่วไปจะมีราคาให้เลือกถึง 8 ขั้น ขึ้นอยู่กับวิธีจอง ถ้าซื้อล่วงหน้าไว้ยิ่งนานจะยิ่งได้ราคาถูก แต่ถ้านาทีสุดท้ายก่อนขึ้นเครื่อง จะต้องจ่าย แพงกว่าการบินไทย ส่วน "นกแอร์" ชูจุดขายสายการบินบริการแบบพรีเมี่ยม เสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่ม พนักงานต้อนรับบนเครื่องยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจ ลูกค้าทุกระดับ ราคาตั๋วจะใกล้เคียงกับการบินไทย สำหรับ "วันทูโก" เดิมเคยยืนหยัดราคาเดียวทั่วไทย เริ่มต้นที่ 1,250-1,999 บาท โดยไม่มีการปรับขั้น ตามระยะ เวลาการจอง แต่ภายหลังต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ตามคู่แข่ง ทำโปรโมชั่นช่วงนาทีทองขายต่ำกว่า 100 บาท/เที่ยว แต่ผลสุดท้ายกลุ่มธุรกิจ เงินถังปลาใหญ่ ใจป้ำทุ่มนำเข้า ฝูงบินรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลาอย่าง "ไทย แอร์เอเชีย" ก็ผงาดขึ้นตำแหน่งแชมป์ ปล่อย "นกแอร์" กับ "วันทูโก" ประคองธุรกิจบินเฉพาะ เส้นทางที่มีผู้โดยสารชัวร์ ๆ อย่างภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ เป็นหลัก

ที่มา : น.ส.พ. ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Offline oldjet

  • ขุนศึก 9 ทัพ
  • ***
  • Posts: 310
ขอให้การบินไทยรักษามาตรฐานและชื่อเสียงไว้นะครับ....ไม่งั้นโดนแย่งตลาดแน่

Offline aeid THAI

  • THAI CABIN CREW.
  • นักรบ
  • **
  • Posts: 143
ผมว่าถ้าปี2531บริษัทเดินอากาศไทยที่ทำการบินครอบคลุมภายในประเทศทุกเส้นทางใช้ชื่อภาษาอักฤษว่า(Thai

airway)ทำการรวมกับการบินไทยในขณะนั้นบินเส้นทางต่างประเทศอย่างเดียวชื่อ(Thai international)นำมารวมกัน

ครับในตอนนั้นได้บอกว่ารวมเพื่อใช้ชื่อการบินไทยชื่อเดียวและทำสีเครื่องบินให้เป็นสีเดียวกันแต่ยังแยกการบริหารงานเป้น

2งานอยู่ไปมายังไงไม่ทราบรวมกันหมดเลยครับบุคลากรที่มีตำแหน่งสูงในเดินอากาศไทยต้องลงมาทำงานในตำแหน่งที่

เริ่มทำงานและยังมีคำนินทาจากนักบินการบินไทยเองว่านักบินเดินอากาศไทยเป็นนักบินบ้านนอก (พี่ๆพอได้ยินข่าวกัปตัน

ท่านหนึ่งฟ้องการบินไทยเป็นเงินหลายสิบล้านบาทมากๆกับคำนินทาขิงกัปตันการบินไทยแล้วชนะด้วยน่ะครับปัจจุบันท่าน

ได้เกษียนอายุไปแล้ว) ลูกเรือที่มีตำแหน่งเป็น(Perser)ก็ลดลงมาเป็นสจ๊วต(Y)ทั้งนี้ทั้นนั้นคงเพื่ออนาคตของวันข้างหน้า

แต่การกระทำของคนมีตำแหน่งทางการเมื่องเพื่อต้องการอะไรครับ

ปล.เรื่องนี้เกอดขึ้นตอนผมอายุ4ขวบผมเข้าใจครับเพราะพ่อและแม่เป็นลูกเรือของเดินอากาสไทยครับแม้ปัจจุบันเค้าทั้ง2

คนยังบินอยู่ก็ตามครับ ยังผมก็รักการบินไทยน่ะครับเพราะยังการบินไทยก็เลี้ยงผมมาตั้งแต่เกิดอ่ะครับและตอนนี้ผมยังได้

รับใช้การบินไทยในฐานะลูกเรือคนนึงก็ภาคภูมิใขมากๆครับ

ปล.ถ้าเดินอากาศไทยยังอยู่ไม่มี Low Cost ไดๆได้เกิดบนแผ่นดินไทยแน่ครับ

Offline oldjet

  • ขุนศึก 9 ทัพ
  • ***
  • Posts: 310
ฟ้องชนะคดีด้วยหรือครับ...เยี่ยมจริง อย่างนี้ถึงเรียกว่าสุดยอดของการกู้ชื่อเสียง..นักบินบ้านนอก...แล้วคนที่ว่านั้นเกษียณหรือยังครับ

Offline aeid THAI

  • THAI CABIN CREW.
  • นักรบ
  • **
  • Posts: 143
ฟ้องชนะคดีด้วยหรือครับ...เยี่ยมจริง อย่างนี้ถึงเรียกว่าสุดยอดของการกู้ชื่อเสียง..นักบินบ้านนอก...แล้วคนที่ว่านั้นเกษียณหรือยังครับ

คนที่ว่าน่าจะเกษียนไปแล้วน่ะครับ

เพราะกัปตันที่ฟ้องเพิ่งจะเกษียนไปเมื่อปีที่แล้ว

หรือสองปีได้ไม่แน่ใจครับ ท่านบินB737-400อ่ะครับ

Offline DuraSail

  • จิตใจของฉันแข็งแกร่งดั่ง
  • Moderator
  • ราชาเทวะ
  • ***
  • Posts: 2,592
นักบินรุ่นเดินอากาศไทย เป็งครูรุ่นเก๋าอยู่ที่ 737-400 เกือบหมดล่ะครับ
เก่งๆทั้งนั้นอ่ะคับ แบบว่าเครื่องบินเป็นเสมือนแขนขาของแกไปแล้ว ตกเร็ว ตกช้า ปีกเอียง/ไม่เอียง แกบอกหลับตายังรู้เลย (จริงอ่ะ หลับตาจะรู้ได้ไงว่าเอียง เอิ๊กๆ E47)

เดี๋ยวรอดูน้องนกเราหน่อยเถอะ เสริมเขี้ยวเล็บอีกเพียบ