Author Topic: เปิดแผน ไทยสมายล์ แอร์เวย์ ตั้งเป้าใน 5 ปี กวาดกำไร 7 พันล้าน  (Read 7949 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline pilotguide

  • ราชาเทวะ
  • *****
  • Posts: 1,019
เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) มีมติอนุมัติจัดตั้งบริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ ด้วยทุนจดทะเบียน 1,800 ล้านบาท โดยบริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่การบินไทยถือหุ้น 100% สาเหตุที่ปรับรูปแบบการดำเนินงานของไทยสมายล์จากหน่วยธุรกิจมาเป็นบริษัทจำกัด เพราะต้องการให้มีเป้าหมายธุรกิจที่ชัดเจนและมีความคล่องตัว ซึ่งผลการศึกษาระบุว่าการตั้งไทยสมายล์เป็นบริษัทย่อยจะส่งผลให้การบินไทยมีกำไรสุทธิสูงกว่าการเป็นหน่วยธุรกิจรวม 9,087 ล้านบาทในช่วง 5 ปี คือปี 2556-2560

"กรุงเทพธุรกิจ" สำรวจรายละเอียดโครงการลงทุนจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ โดยสาระสำคัญของแผนระบุว่า การบินไทยจะลงทุนเป็นเงินสดในบริษัทไทยสมายล์แอร์เวย์รวม 1,800 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในปี 2556 จำนวน 450 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 1,350 ล้านบาทจะเป็นการลงทุนในปี 2557

ฝูงบินของไทยสมายล์ประกอบด้วยเครื่องบินลำตัวแคบ คือ เครื่องบินแอร์บัส เอ 320-200 จำนวน 20 ลำ โดยจะเช่าจากการบินไทยเป็นระยะเวลา 3 ปี สามารถต่ออายุการเช่าได้ โดยในปี 2555 ไทยสมายล์ได้รับมอบเครื่องบิน 4 ลำ ส่วนในปี 2556 จะรับมอบ 6 ลำ ปี 2557 จะรับมอบ 7ลำ และที่เหลืออีก 3 ลำ จะรับมอบในปี 2558

เส้นทางบินของไทยสมายล์ส่วนหนึ่งจะทำการบินทดแทนการบินไทย อีกส่วนหนึ่งจะเน้นการสร้างโอกาสในเส้นทางบินใหม่จากกรุงเทพฯและเมืองหลักอื่นๆของไทยไปยังจุดบินในเอเชียที่มีศักยภาพ เพื่อเสริมเครือข่ายและเชื่อมต่อเที่ยวบินให้การบินไทย ประกอบด้วย

1.เส้นทางบินรองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-มาเก๊า กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์ กรุงเทพฯ-บันดาร์เสรีเบกาวัน กรุงเทพฯ-อาเมห์นาบัด กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ กรุงเทพฯ-ฮานอย กรุงเทพฯ-พนมเปญ กรุงเทพฯ-ปีนัง กรุงเทพฯ-สุราบายา กรุงเทพฯ-หางโจว กรุงเทพฯ-เซินเจิ้น กรุงเทพฯ-เสียมราฐ กรุงเทพฯ-หลวงพระบาง กรุงเทพฯ-โคลัมโบ กรุงเทพฯ-พุทธคยา-พาราณสี กรุงเทพฯ-เมดาน ภูเก็ต-เดลี ภูเก็ต-บอมเบย์ ภูเก็ต-กัวลาลัมเปอร์ และเชียงใหม่-ฮ่องกง

2.เส้นทางบินรองภายในประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี กรุงเทพฯ-กระบี่ กรุงเทพฯ-อุดรธานี กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-เชียงราย กรุงเทพฯ-ขอนแก่น กรุงเทพฯ-สมุย และเชียงใหม่-ภูเก็ต และ 3.เส้นทางบินหลักภายในประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่

ในปี 2557 ไทยสมายล์จะทำการบินไปยังเชียงราย ขอนแก่น สมุย โคลัมโบ พุทธคยา พาราณสี เพื่อทดแทนเที่ยวบินของการบินไทย และจะเปิดเส้นทางบินใหม่จากกรุงเทพฯไปยังหลวงพระบางและเสียมราฐ รวมทั้งเชียงใหม่-ฮ่องกง ส่วนในปี 2558 จะเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพฯ-เมดาน พร้อมทั้งเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางสมุย เชียงราย พนมเปญ ฮานอย มาเก๊า เซินเจิ้น และหางโจว

ทั้งนี้ ไทยสมายล์จะกำหนดโครงสร้างราคาตั๋วโดยสารให้เรียบง่ายไม่ซับซ้อน และมีกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาอย่างรวดเร็วสอดคล้องกับสภาวะตลาดเพื่อสร้างรายได้สูงสุดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งราคาตั๋วโดยสารไทยสมายล์จะต่ำกว่าการบินไทยเฉลี่ยประมาณ 15-20% ส่วนช่องทางการจำหน่ายตั๋วโดยสาร 50% เป็นการจำหน่ายผ่านระบบ Online อีก 25% เป็นการจำหน่ายผ่านสำนักงานขาย และอีก 25% เป็นการจำหน่ายผ่านระบบตัวแทนจำหน่าย

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2557 สัดส่วนการจำหน่ายตั๋วโดยสารผ่านระบบ Online จะเพิ่มเป็น 60% และปี 2558 จะเพิ่มเป็น 70% และสัดส่วนการจำหน่ายผ่านสำนักงานขายและระบบตัวแทนจำหน่ายจะลดเหลือ 20% ในปี 2557 และเหลือ 15% ในปี 2558 และไทยสมายล์จะเน้นหารายได้ส่วนเพิ่มโดยใช้กลยุทธ์กระตุ้นยอดขาย เช่น ขายผลิตภัณฑ์พ่วงด้วยราคาที่ดึงดูดใจ การเพิ่มค่าคอมมิชชั่นให้กับพนักงานในการหารายได้ส่วนเพิ่ม และยังมีรายได้ส่วนเพิ่มจากบริการจองรถเช่า โรงแรม การจำหน่ายสินค้าบนเครื่องบิน โดยคาดว่าจะมีรายได้ส่วนเพิ่มประมาณ 15-20% ของรายได้ทั้งหมด

ไทยสมายล์คาดว่าผลการดำเนินงานในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2560 จะมีรายได้รวม 88,678 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 7,056 ล้านบาท โดยปี 2556 มีรายได้ 6,384 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 54 ล้านบาท ปี 2557 มีรายได้ 15,445 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,304 ล้านบาท ปี 2558 มีรายได้ 20,832 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,842 ล้านบาท ปี 2559 มีรายได้ 22,643 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,910 ล้านบาท และปี 2560 มีรายได้ 23,374 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,946 ล้านบาท
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของไทยสมายล์ ประกอบด้วย

1.การตอบสนองของสายการบินคู่แข่ง โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำที่เป็นผู้นำตลาดในปัจจุบัน อาจส่งผลให้เกิดสงครามราคาและกระทบต่อต้นทุน แนวทางแก้ไขของไทยสมายล์คือใช้กลยุทธ์ด้านราคาแบบ Dynamic Pricing โดยการติดตามราคาขายของสายการบินคู่แข่งทุกราย รวมทั้งติดตามความต้องการเดินทางของผู้โดยสารในแต่ละช่วงเวลาอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดราคาขายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ รวมทั้งปรับเปลี่ยนราคาขายอย่างรวดเร็ว

2.ความผันผวนของราคาน้ำมัน เพราะต้นทุนราคาน้ำมันเป็นค่าใช้จ่ายหลักของสายการบิน ความผันผวนของราคาน้ำมันจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร แนวทางแก้ไขคือการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันล่วงหน้าในขณะที่ราคายังไม่สูงมากและปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมน้ำมันอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันโดยราคาบัตรโดยสารยังคงอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในตลาด

3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร แนวทางแก้ไขคือติดตามสถานการณ์ และพยากรณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และวางมาตรการรองรับในเรื่องการประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยน

4.ขวัญและกำลังใจของพนักงาน เพราะการที่ไทยสมายล์เน้นบริหารต้นทุนการดำเนินงานให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ ส่งผลให้อัตราการจ้างและสวัสดิการของบุคลากรต้องอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าบุคลากรของการบินไทย จึงอาจส่งผลให้พนักงานขาดขวัญกำลังใจ เกิดความแตกแยกของพนักงานในสองสายการบิน แนวทางแก้ไขคือการกำหนดนโยบายบริษัทที่ชัดเจน และสื่อสารสร้างความเข้าใจให้พนักงานรับทราบ เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีการบริหารจัดการที่แยกออกจากการบินไทยอย่างเด็ดขาด

โดย วิภาพร จิตสมบูรณ์
http://www.bangkokbi...กำไร7พันล..html

Offline Admin

  • Administrator
  • ขุนศึก 9 ทัพ
  • *******
  • Posts: 220

Offline pilotguide

  • ราชาเทวะ
  • *****
  • Posts: 1,019

Offline akroma

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 42
อยากให้เขามีให้เลือกตั้งแต่แรกเลย ว่า จะเข้าการบินไทย หรือ ไทยสไมล์  หรือจะเป็นเลือก อันดับ 1 อันดับ 2 ก็ยังดี  E06

Offline golf307

  • FLY away
  • ขุนศึก 9 ทัพ
  • ***
  • Posts: 308