Author Topic: Journey to The Sky, การเดินทางสู่ท้องฟ้า (ของผม)  (Read 55407 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
กลับไปอ่านทบทวนดู มีหลายๆที่ ที่มีการใช้ภาษาไทยผิดนะครับ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ เนื่องจากรีบพิมพ์ ไม่มีโอกาสได้ทบทวนครับ ขอบคุณครับ

Offline Phoebus

  • StudentPilot
  • ประชาชน
  • ***
  • Posts: 25
  • ^^
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดี ๆ ครับ
รอติดตามคับ  O18

Offline sodasado

  • นักรบ
  • **
  • Posts: 141
คุณน้า Perth มาต่อเร็วๆ นะครับ

ผมรออยู่เหมือนกันนน...

Offline DuPont

  • ประชาชน
  • Posts: 6

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ก่อนที่จะเป็นครูการบินได้นั้น ก็ต้องมีใบอนุญาตก่อนเหมือนกันนะครับ ไม่ได้ดูจากการมีประสบการณ์หรือปริมาณชั่วโมงบิน การที่พึ่งเรียนจบใหม่ๆ ได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี(CPL) ก็สามารถเรียนต่อเพื่อสอบใบอนุญาตเป็นครูการบินได้เลย หมายเหตุ ประเทศไทยกำลังสับสนกับเรื่องพวกนี้อยู่นะครับ รวมไปถึงการที่โรงเรียนการบินในเมืองไทยยังไม่ค่อยจะมีการเปิดสอนให้เป็นครูการบินเท่าไรนัก ไม่รู้ว่าโรงเรียนการบินในเมืองไทยสับสน หรือ กรมขนส่งทางอากาศไทยกำลังสับสนกันแน่ นะครับ ต่อ ที่Australia นั้นครูการบินแบ่งออกเป็น สามระดับ คือ ครูการบินขั้นพื้นฐาน หรือครูการบินขั้นที่3 ต่อไปขออนุญาตเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษเลยนะครับ ว่า Grade 3 –Instructor หรือ Instructor Rating เหมือนกันครับ คือสอนพื้นฐานศิษย์การบินได้ บินในพื้นที่ที่ใช้เพื่อฝึกบินได้ หลังจากมีชั่วโมงสอนศิษย์มาพอประมาณแล้ว เก็บชั่วโมงครบ(ชั่วโมงสอนนะครับ ไม่ใช่ชั่วโมงบินรวม) ก็จะสามารถสอบเลื่อนขั้นไปเป็น Grade 2- instructor ได้ ก็จะมีสิทธิ์ในการปล่อยเดี่ยว หรือเช็คศิษย์การบินเพื่อบินทั่วไปได้ (GFPT- General Flying Progress Test  - อันนี้ขออธิบายในตอนที่เกี่ยวกับขั้นตอนในการเรียนบินของ Australia นะครับ)

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ต่อมาคือใบอนุญาตสูงสุดของการเป็นครูการบินใน Australia คือ Grade 1-Instructor อันนี้สูงสุดแล้ว คือสามารถ เช็คเพื่อออกใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล (PPL) และเช็คเพื่อออกใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี(CPL) รวมถึงความสามารถของเครื่องบินต่างๆ ตามที่ครูการบินท่านนั้นมีบรรจุอยู่ในใบอนุญาตครับ มาดูทางฟากอเมริกาบ้าง การแบ่งระดับของครูการบินในอเมริกานั้นแบ่งออกเป็น CFI, CFII และ MEI ครับ อันนี้ผมยังค่อนขช้างสับสนอยู่เล็กน้อยเหมือนกัน เอาคร่าวๆแล้วกันว่า CFI นั้นสามารถสอนนักเรียนได้ทั่วไป CFII สามารถสอนนักเรียนการบินที่เรียนการบินด้วยเครื่องวัดประกอยการบินได้ (Command Instrument Rating) ส่วน MEI คือครูการบินที่สามารถสอนในเครื่องบินแบบ สองเครื่องยนต์ได้ครับ  ต่อด้วยทางฝั่งอังกฤษและยุโรป ก็จะคล้ายกับทางAustralia ครับ ไม่ใช่สิ ที่ถูกคือต้องบอกว่า ทางAustralia คล้ายกับทางอังกฤษมากว่า ส่วนที่สุดท้ายประเทศไทยเราเองรวมถึง ประเทศที่ออกใบอนุญาตเป็นแบบ ICAOนะครับ มีแค่คำว่า Instructor Rating เท่านั้นครับ ก็เป็นครูได้ตามแบบเครื่องบินที่มีระบุอยู่ในใบอนุญาตครับ ส่วนเรื่องการแบ่งแบบเครื่องบินนั้นก็จะขออธิบายต่อไปภายหลังนะครับ

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ที่นี้การดูปริมาณครูมีความสำคัญอย่างไร ครูยิ่งเยอะก็ยิ่งดีใช่มั๊ยครับ เปรียบเทียบเหมือนโรงเรียนมัธยมของรัฐในประเทศเรา ปัจจุบัน ครู 1 ท่านต่อปริมาณลูกศิษย์ประมาณ 50 คนได้มั้งครับ ครูก็เหนื่อย ลูกศิษย์จะถามอะไรก็เกรงใจ โดยทั่วไปโรงเรียนที่ผมเลือก ครูการบิน 1 คน จะดูแลศิษย์ไม่เกิน 2 คน ครับยิ่งตอนเริ่มบิน ก็จะเป็นแบบ 1 ต่อ 1 เลย จนกว่าจะเริ่มเรียน PPL หลังจากนั้นก็จะเป็นการสุ่มเช็คของโรงเรียนการบินเอง เช่น เรียน PPL หรือ CPL ไปแล้ว 3 flight ก็จะเปลี่ยนครูท่านอื่นที่ไม่ได้สอนเรามาตรวจสอบคุณภาพซักที ส่วนครูที่มีหน้าที่เช็คก่อนออกใบอนุญาต หรือปล่อยเดี่ยว จะไม่มาสอนศิษย์ เป็นประจำ แต่อาจจะมีบ้างในการตรวจสอบคุณภาพศิษย์เป็นครั้งคราวครับ เพราะฉะนั้นเครื่องบินเยอะ ครูเยอะไว้ก่อนดีกว่าครับ ออ การดูมาตราฐานของโรงเรียนก็สามารถตรวจสอบกับ  Website กระทรวง, ทบวง, กรม ที่ดูแลการบินในประเทศนั้นๆ ได้อีกทางหนึ่งครับ จะมีบอกเลยว่าโรงเรียนการบินที่ผ่านมาตราฐานการตรวจสอบนั้นมีโรงเรียนอะไรบ้าง

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
หลังจากนั้นก็ดูต่อว่าการบำรุงรักษาเครื่องบินของที่โรงเรียนนั้นเป็นอย่างไร ง่ายมากคือเพราะถ้าสองอย่างแรกที่ให้ดู มาถูกทางแล้ว ปริมาณเครื่องบินที่มาก บ่งบอกถึงการแยกการซ่อมบำรุงเครื่องออกมาเป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง ลองขอเข้าไปดูในโรงเก็บเครื่องบินได้ครับ ว่ามีใบรับรองอะไรแขวนอยู่บ้าง ตอนที่ผมเรียนโรงเก็บเครื่องบินเป็นอีกที่ ที่ผมชอบไปอยู่เสมอไปคลุกคลีอยู่กับช่าง ประกอบกับขอดูดความรู้อยู่เป็นประจำ ได้ฝึกภาษาไปในตัวอีกต่างหาก แต่บางทีก็ต้องดูสถานการณ์ด้วยเหมือนกันนะครับว่าเค้ายุ่งกันอยู่รึเปล่า หลักๆขอแค่สามอย่างแล้วกันครับ ที่เหลือรายละเอียดปีกย่อยจะขอกล่าวต่อไปคือ การเดินทางไปโรงเรียนจากที่พักเดินทางอย่างไร มีที่พักบริเวณโรงเรียนด้วยรึเปล่า ที่โรงเรียนของ SQ จะมีที่พักจัดไว้ให้ใกล้กับโรงเรียนเดินมาเรียนได้ เหมือนกับที่หัวหินครับ มีสนามบอลไว้ให้ 1 สนาม ห้องเล่นเกมส์ (ขอเพื่อนเข้าไปดูมา) แต่พอเอาเข้าจริงๆ ก็ขอติดรถเข้ามาในเมืองทุกที สนามบินของโรงเรียนการบินในต่างประเทศนั้นจะอยู่ไกลจากชุมชนพอประมาณ เพราะคงมีแต่พวกเราเท่านั้นละครับ ที่บอกว่าชอบได้ยินเสียงเครื่องบินจัง รอบการเดินทางของรถเมล์นั้นมีน้อยมากๆ พลาดคันนึงก็เลิกเลย ส่วนผมตัดสินใจที่จะไม่อยู่ใน Jandakot ด้วยเหตุผลที่ว่าเราต้องหาเลี้ยงชีพ ด้วยการทำงานพิเศษไปด้วยเพื่อจะได้ ไม่ต้องรบกวนทางบ้านมากไปนัก ซึ่งพอบวก ลบ คูณ หาร ดูแล้วอยู่ข้างนอกคุ้มกว่า แต่พออยู่ข้างนอกก็ต้องการรถอีก เพื่อความสะดวกในการเดินทางมาเรียน (เพราะบางที เรียนแต่เช้า บางทีก็เรียนค่ำมืด ดึกดื่น) โชคดีที่ Australia มีกฎหมายที่ควบคุมความเร็วที่เข้มงวดมากๆ รถมือสอง-มือสามของที่นี่จึงมีสภาพดีและราคาถูก คิดดูแล้วถ้าซื้อมาราคานึง ขายได้ราคาประมาณนึง ลองมาคำนวณดูแล้วคุ้มกว่าขึ้นรถเมล์ แถมยังรับงานเพิ่มด้วยการส่งอาหารตามบ้านได้อีกต่างหาก เพราะงานส่งอาหารที่นี่ ทางร้านไม่มีรถไว้ให้บริการนะครับ ต้องมีมาเองแล้วถึงจะทำงานพวกนี้ได้ อีกเรื่องใบขับขี่ก่อนมาจากเมืองไทยก็เตรียมไปขอออกใบขับขี่นานาชาติมาเลย ที่ข่นส่งทางบก ใกล้ๆกับสถาบันการบินพลเรือนที่ตรงข้าม สวนจตุจักรนั่นแหละครับ แต่พอมาถึงที่ Australia ถ้าคิดว่าจะอยู่นานเกิน 1 ปีก็ให้ไปสอบใบขับขี่ของที่นี่ซะ เพื่อความสะดวกเวลาโดนเรียกตรวจครับ ได้ทดสอบความรู้ทางด้านการขับขี่รถยนต์ของเราเป็นภาษาอังกฤษด้วย มาคิดดูแล้วการให้ความสำคัญของการเดินทางระหว่างโรงเรียนกับที่พักก็สำคัญนะครับ ตรงที่ว่าบางทีเราเรียนเช้ามาก บางทีเราก็เรียนดึกมากๆ เพราะความเพลียบางครั้งก็ทำเอาเราแย่ไปเหมือนกัน

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
อันตัวกระผมนั้นมีเรื่องที่จะต้องกล่าวขอบคุณอีกครั้ง (ลิเกสุดๆ) ถึงเพื่อนผู้ใจดีชาวญี่ปุ่น ที่กรุณาให้ผมเอารถยนต์ของเค้ามาใช้ในช่วงที่ผมยังหารถไม่ได้ช่วงแรก ส่วนมันยอมขึ้นรถไปเรียนเอง มันบอกว่าเห็นใจและอยากช่วยเพราะทั้งมันและผมต่างก็ไกลบ้านไกลเมืองมาด้วยกัน ต้องรักกันและช่วยกันเท่าที่จะช่วยได้ ซึ้งมากๆ
นอกเรื่องอีกแล้วนะน้า คราวนี้เรื่องโรงเรียนก็เรียบร้อย ต่อไปก็เรื่องระหว่างเรากับโรงเรียนละ ว่าควรดูอะไรบ้าง มีการระบุเป็นเวลาคร่าวๆหรือไม่ว่าเราควรจะใช้เวลาในการเรียนเท่าไร ค่าใช่จ่ายเท่าไร ในการค่าใช้จ่ายในการเรียนจำนวนนั้น มีการระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใดบ้าง มีเวลาบินระบุไว้กี่ชั่วโมง โอ๊ยน้า เรื่องพวกนี้มันต้องเช็คอยู่แล้ว มาคุยเรื่องที่เรามักจะมองข้ามกันดีกว่านะ ถ้ามันไม่ได้เป็นอย่างที่เค้าระบุไว้ล่ะ คราวนี้จะคิดค่าใช้จ่ายยังไง ต้องรู้อันนี้สำคัญ ที่ตามมาก็คือแล้วถ้าตอนเราเรียนเกิดอุบัติเหตุกับเราแล้ว ใครเป็นคนออกค่ารักษาพยาบาล ใครจะรับผิดชอบถ้าเกิดเครื่องบินเสียหายขึ้นมา พวกนี้ควรจะรวมอยู่ในค่าเรียนของเราแล้วนะครับ(เป็นเหมือนซื้อประกันไว้แล้ว) ต้องดูให้แน่นะครับว่ามันอยู่ในค่าใช้จ่ายของเราแล้วจริงๆ ถ้าอยากจะละเอียดมากกว่านี้ก็ ถามด้วยว่า ไอ้ที่มันบอกว่าประกันน่ะ มันแค่ตัวเรากับเครื่องบิน แต่ถ้าความเสียหายไปเกิดกับบุคคลที่สามล่ะ ใครจ่าย เพราะสนามบินตามชนบทใน Australia มีปศุสัตว์เยอะมาก กรุณาระวัง จิงโจ้ วัว แพะ แกะ หรือบางที จระเข้ ก็มี ถ้ามันมีเจ้าของแล้วเราไปชนมันตาย ใครรับผิดชอบ เคยเกิดเหตุการนี้กับนักเรียนการบินของ.... ไม่เอ่ยดีกว่า บินเข้าไปในบ้านคนประมาณว่าร่อนเพลินมั้ง แล้วเป็นกรณีขึ้นมาว่า อันนี้ประกันจ่ายให้ อันนี้ประกันไม่จ่าย เป็นเรื่องราวกันพอสมควร เห็นมั๊ยครับ เพราะอะไรเราจึงต้องถามว่า ทำไม...


Offline AP79

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 64
ให้ข้อมูลที่ดีมากครับและละเอียดด้วย จะได้มีข้อมูลมาเปรียบเทียบกันครับ O19...ขอให้น้ามีกำลังใจเขียนต่อไปนะครับ

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
อีกเรื่องก็คือค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับทางโรงเรียนกรุณาอย่าจ่ายเป็นเงินก้อนนะครับ แต่ให้ชำระตามที่เราจะต่อรองได้ แบ่งจ่ายได้กี่งวด ก่อนจะสอบต้องจ่ายเท่าไร ทำให้อำนาจต่อรองอยู่กับเราเสมอ เผื่อเกิดกรณีที่อะไรต่อมิอะไร ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ จะได้เจรจาใหม่อีกรอบ ออ... แล้วทางโรงเรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการขอ Visa หรือต่อ visa ของเราด้วยนะครับ “โอ้โห...กว่าจะได้เริ่มเรียนบิน” ใกล้แล้ว ใจเย็นๆ
กลับมาต่อที่เรื่องของเรานะครับ การเรียนบินที่ Perth จึงได้เริ่มขึ้น ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนอีกตามเคย การเรียนที่นั่นจะเริ่มด้วยการเรียน BAK ย่อมาจาก Basic Aeronautical Knowledge ครับ ก็จะเป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ อากาศกลศาสตร์เบื้องต้น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์เบื้องต้น พยากรณ์อากาศ อุตุนิยมวิทยา เห็นถามกันเรื่องเนื้อหาวิชาที่ใช้ในการสอบนักบินกันมาก วันนี้เลยเอามาเฉลยให้หมดเลย ว่าเนื้อหาวิชาที่ต้องใช้ในการเตรียมสอบบินนั้น สามารถหาได้อย่างง่ายดายจาก Internet ในปัจจุบัน รวมไปถึงหนังสือที่เกี่ยวกับการเตรียมสอบนักบินนั้นก็มีขายมากมายตามเว็บเพจของร้านหนังสือต่างๆ นั่นไง..ครับ....เฉลยไปแล้ว 1 เรื่องที่ถามกันจัง “ ใครไปเจอหนังสืออะไรดีๆ ก็เขียนกลับมาบอกกันบ้างแล้วกัน”  – ตอนนั้นก็จะโดนบังคับให้อ่านหนังสือ BAK เล่มใหญ่ก่อน 1 เล่มเพื่อที่จะเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการแรกของการเรียนเพื่อใบอนุญาตนักเรียนการบิน (Student Pilot License)  การเรียนบินที่ออสเตรเลียนั้น จะมีการขอให้ซื้อชุดหูฟัง (HeadSet) เป็นของตนเองด้วยนะครับ เพื่อความเป็นส่วนตัว แต่ถ้าไม่ได้เรียน หมายถึงมาเช่าเครื่องบินเป็นครั้งคราว เพื่อบินชมวิวในเมือง Perth หรือเมืองใกล้เคียง ทางโรงเรียนก็จะมีบริการไว้ให้ เค้าแค่ขอว่าถ้าคิดจะเรียนบินก็ควรจะมีของตนเองซักอันน่าจะดีกว่า  ส่วนของส่วนตัวอีกชิ้นที่ผมคิดว่าสำคัญตอนเรียนคือ ที่ตรวจเช็คคุณภาพน้ำมัน(Dip Stick) ที่เห็นว่าจำเป็นเพราะที่ Perth สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบน ร้อนก็ร้อนซะ เวลาหนาวก็หนาวมากเช่นกัน อาจทำให้เกิดสภาพการปนเปื้อนในน้ำมันสูง(Fuel Contaminate) มีไว้ตรวจเองอันนึงดีกว่า


Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ลืมไปครับ ก่อนเริ่มบินขอกลับไปเรื่องที่ติดค้างไว้ก่อนนะครับ การแบ่งประเภทเครื่องบิน ขออธิบายแบบของไทยก่อน ผมคิดว่าเรากำลังเลียนแบบของ ICAO แต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียว การแบ่งเครื่องบินของไทยนั้น (ขออนุญาตเขียนจากประสบการณ์ที่ได้เห็นจากใบอนุญาตเลยนะครับ) แบ่งเป็น
1.   แบบเครื่องยนต์เดี่ยว (Single Engine) – ที่ผมไม่แน่ใจก็คือของ  ICAO จะมีการแบ่งแบบ เครื่องยนต์เดี่ยวน้ำหนักวิ่งขึ้น( Maximum TakeOff Weight)ไม่เกิน 5,700 ก.ก.  แต่ของไทยถึงแม้จะได้ใบอนุญาตที่พิมพ์ว่า  Single Engine Land (Land หมายถึง พื้นดิน มี Land กับ Sea ครับ) แล้วแต่ก็ไม่ได้มีการระบุน้ำหนักของการวิ่งขึ้นเอาไว้ครับ
2.    แบบมากกว่า 1 เครื่องยนต์ (Multi Engine) ไม่รู้จะอธิบายยังไงเอาเป็นว่ามีมากกว่า 1 เครื่องยนต์แล้วกันครับ
นอกนั้นก็จะเป็นประเภท ออพชั่นเสริมเช่น ถ้าเป็น Transport Aircraft ที่ต้องการนักบินมากกว่า 1 คน ในการปฏิบัติงาน ก็ต้องมีระบุแบบของเครื่องบินนั้นๆ ไว้ในใบอนุญาตด้วยครับ เช่น  Co-Pilot B737-400 หรือ Captain B737-400
ทาง Australia ล่ะ ต่างกันโดยรายละเอียดปลีกย่อยที่กล่าวว่า มีระบุว่าน้ำหนักวิ่งขึ้นไม่เกิน 5,700 ก.ก. แล้วแบบออพชั่นเสริมต่างๆก็ ก่อนจะบินได้จะต้องมีการระบุแบบลงในใบอนุญาตก่อนนะครับ คร่าวๆเช่น
1.   Single Engine – Land , Sea ระบุน้ำหนักด้วยครับ Sea ก็คือ Sea Plane ที่สามารถขึ้นลงในทะเลได้ครับ
2.   Multi engine – Land, Sea
3.   อันนี้ไม่มีของไทยครับ คือ Constant Speed Prop --- เครื่องบินที่บินด้วยเครื่งอยนต์แบบความเร็วรอบใบพัดคงที่
4.   อันนี้เมืองไทยก็ไม่ระบุ Retractable Under-Carriage (อเมริกา เรียก Gear ครับ) คือเครื่องบินที่เวลาบินขึ้นไปแล้วเก็บล้อได้
5.   อันนี้เมืองไทยก็ไม่ระบุอีก Tail Wheel ครับ เครื่องบินแบบที่มีล้ออยู่ที่หาง
6.   เมืองไทยไม่ระบุเช่นกัน – เครื่องบินที่มีปีก 2 ชั้นครับ
7.   เมืองไทยไม่มีอีก ----น่าจะบอกว่าเมืองไทยมีอันไหนน่าจะง่ายกว่า ----- เครื่องบินที่ใช้สำหรับการบินผาดโผน, บินผาดแผลง ครับ และอื่นๆ อีกมากมายที่ผมสามารถนำมาบรรยายคร่าวๆ พอทำความเข้าใจในแบบเครื่องบินเท่านี้พอนะครับ
ส่วนแบบสองเครื่องยนต์นั้น ต้องระบุแบบ นั้นๆในใบอนุญาตก่อนนะครับ แล้วถึงบินเครื่องแบบนั้นๆ ได้เช่น ต้องมี Multi Engine ก่อน แล้วก็ระบุแบบลงไปอีกว่า Multi Engine ที่ว่าเป็นแบบไหน ยกตัวอย่างถ้าเทียบกับเมืองไทยก็เช่น เครื่องบินสองเครื่องยนต์ Piper Seminole ก็ต้องมีตัวย่อของแบบ PA44 ระบุในใบอนุญาตครับ จึงจะสามารถทำการบินในแบบนั้นๆได้
นอกเหนือจากนั้น พวกออปชั่นเสริมของเครื่องยนต์แบบต่างๆ  Turbo Prop, Turbo Charge ฯลฯ ก็ต้องระบุไว้ในใบอนุญาตทั้งหมดครับ พวกที่เป็นใบอนุญาตที่เกี่ยวกับการบินจะขอกล่าวต่อไปในภายหลังครับ จะเห็นได้ว่าใบอนุญาตในการบิน ไม่เหมือนใบอนุญาตรถยนต์เลยนะครับ ที่เราสามารถขับรถยี่ห้ออะไรก็ได้ โดยที่ไม่ต้องระบุในใบขับขี่ เช่นไม่ต้องสอบใบอนุญาตเพื่อที่จะขับ Benz, BMW, TOYOTA  อะไรทำนองนี้ แต่เครื่องบินไม่ได้เลยนะครับ แบบไหนต้องแบบนั้น คราวนี้ท่านที่เคยสอบถามพวกเรามาก็ได้คำตอบไปด้วยนะครับ…


Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ช่วงนี้เวลาเขียนน้อยหน่อยนะครับ ขออภัยไว้ได้วยครับ

Offline Hakunamatata

  • ATT01/08
  • เสนาบดีผู้ยิ่งใหญ่
  • ***
  • Posts: 758
ขอเสริมเรื่องใบขับขี่ของที่โน้น ไว้เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากไปเรียนบินที่ Australia นะครับ

สมัยผมอยู่โน้น ผมเอาใบขับขี่เมืองไทยเนี้ยแหละ ไปแปลที่กงศุล (Consulate) ของแต่ละเมือง เค้าจะให้กระดาษมาแผ่นนึง ก็ให้เก็บไว้ตลอดเวลาขับรถ ค่าแปลผมจำไม่ได้และ (คิดว่าไม่แพงนะ) แต่ใช้ได้ตลอดชีพเลยครับ ขับรถที่โน้นไม่ยากครับ (พวงมาลัยขวาเหมือนเมืองไทย) ขอให้ตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัดเป็นพอ รับรองไม่มี ticket แปะอยู่หน้ารถ หรือว่า ส่งไปที่บ้านแน่นอน

Offline meenoi

  • ATT01/08
  • ขุนศึก 9 ทัพ
  • ***
  • Posts: 386
ขอเสริมเรื่องใบขับขี่ของที่โน้น ไว้เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากไปเรียนบินที่ Australia นะครับ

สมัยผมอยู่โน้น ผมเอาใบขับขี่เมืองไทยเนี้ยแหละ ไปแปลที่กงศุล (Consulate) ของแต่ละเมือง เค้าจะให้กระดาษมาแผ่นนึง ก็ให้เก็บไว้ตลอดเวลาขับรถ ค่าแปลผมจำไม่ได้และ (คิดว่าไม่แพงนะ) แต่ใช้ได้ตลอดชีพเลยครับ ขับรถที่โน้นไม่ยากครับ (พวงมาลัยขวาเหมือนเมืองไทย) ขอให้ตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัดเป็นพอ รับรองไม่มี ticket แปะอยู่หน้ารถ หรือว่า ส่งไปที่บ้านแน่นอน
ที่กรุงเทพก็ไม่มี ticket นะ ... จ่ายสดเลย   E06

Offline karn

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 47
$25 ครับผมค่าแปล หมดอายุตามใบขับขี่ที่ระบุของประเทศไทยครับ ทำได้ที่กงศุลประจำเมืองทุกเมืองครับ

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ที่ผมเจอคำถามค่อนข้างบ่อยคือ บินเฮลิคอปเตอร์ ได้ด้วยรึเปล่าอันนี้ก็ขอชี้แจงด้วยเลยว่าใบอนุญาตของเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ คนละใบอนุญาตกันนะครับ คนที่จะบินได้สองประเภทก็ต้องเรียนทั้งสองแบบครับ มีรุ่นพี่นักบินเราหลายท่านที่ถือใบอนุญาต ทั้งสองแบบเลยนะครับ โดยแยกเป็น เครื่องบิน(Fixed Wing) และเฮลิคอปเตอร์(Rotation wing) ครับ
ส่วนข้อมูลเครื่องบินของทาง USA สอบถามมาแล้วได้ความว่า ใบอนุญาตคล้ายๆกับของไทยครับ แต่ที่ USA มากกว่าก็คือ แยกเป็นเครื่องบินที่เครื่องยนต์มากกว่า 200 แรงม้าเท่านั้นครับ นอกนั้น  Single engine หรือ Multi engine ก็คล้ายกับไทย
กลับมาต่อที่เรื่องของผมนะครับ  การเรียนจึงได้เริ่มต้นจาก BAK ครับ แรกเริ่มเลยการบินเที่ยวแรกผมขอเรียกเป็นไทย ว่าการลองบินแล้วกัน(Trial instruction Flight) ครูการบินจะสอนให้ดูพวกอุปกรณ์ ชิ้นส่วนของเครื่องบินต่างๆว่าอะไรเรียกว่าอะไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง แล้วก็พาเราไปพื้นที่ฝึกบิน บินผาดโผน-แล้วแต่คำขอ—ครูบางท่านทำได้บางท่านก็ไม่ได้นะครับ แล้วแต่ใบอนุญาตครับ ให้เราลองได้จับ และลองควบคุมคันบังคับ ก็เป็นการบินที่เราได้ลองดูก่อน ส่วนใหญ่ทางโรงเรียนจะจัดคนที่เค้าคิดว่าจะสอนเรามาบินแนะนำเราในเที่ยวแรกนี้เลย เราก็จะได้ลองดูประกอบการตัดสินใจด้วยว่า ท่านที่จะมาสอนเราเนี่ย เค้าเข้ากับเราได้หรือไม่ กรุณาเลยนะครับ เราไปเรียน ถ้าเราเห็นว่าครูคนนี้คิดว่าไม่เหมาะกับเราก็เปลี่ยนดีกว่า เพราะถ้าได้ครูที่ดีจะเป็นผลดีกับเราไปตลอดชีวิตการบินเลยครับ หลังจากกลับมาแล้วทางโรงเรียนก็จะสอบถามเรื่อง ใบสำคัญทางการแพทย์ ต่อไปขอเรียก Medical License เลยนะครับ ในขั้นตอนการเรียน BAK นั้นต้องการแค่ใบอนุญาตขั้น 2 เท่านั้นครับ  Class 2 – Medical เท่าที่ผมจำได้ข้อแตกต่างระหว่าง Class 2 กับ Class 1 Medical ของ Australia นั้นต่างกันคือเรื่องความละเอียดในการตรวจสายตาเท่านั้นครับ


Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
เครื่องบินที่ผมเลือกเรียนนั้นก็คือเครื่องบินแบบ Cessna  152 ครับ ผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดในเรื่องบทเรียนนะครับ แต่จะอธิบายคร่าวๆพอเห็นภาพเท่านั้นครับ ก็จะมีการสอนเกี่ยวกับ ข้อจำกัดต่างๆ ของเครื่องบินรุ่นที่เราจะเรียน ก่อนแล้วก็จะเรียนพื้นฐานการควบคุมเครื่องต่างๆ บินตรง บินระดับ เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา บินในวงจร (Circuits) ท่านที่นึกภาพไม่ออก ว่าวงจรการบินเป็นอย่างไร อธิบายได้ว่า นึกถึงทางวิ่ง Runway ของเครื่องบินนะครับ ก็จะได้ถนนเส้นตรงๆ มาหนึ่งเส้นแล้วนะครับ ลากถนนเส้นนั้นต่อขึ้นไปบนฟ้าครับ หลังจากนั้นก็เลี้ยวขวา 90 องศา – เรียกวงจรทางขวา – Right hand Circuit ถ้าที่ที่สนามบินบอกให้เลี้ยวซ้ายก็เรียกวงจรทางซ้ายครับ Left hand Circuit หลังจากเลี้ยวขวาหรือซ้ายแล้ว ก็ลากเส้นต่อไปอีกประมาณ ครึ่งนึง ของ Runway ที่เราวิ่งขึ้นมาแล้วก็เลี้ยวขวา 90 องศาอีกครั้งนะครับ อ้อ... การเลี้ยวถ้าขึ้นมาแล้วเลี้ยวขวาก็ขวาตลอดนะครับ ซ้ายก็ซ้ายตลอด ไม่มีเลี้ยวแบบสลับนะครับ คราวนี้เราก็จะอยู่ขนานกับ Runway ที่เราวิ่งขึ้นมาแล้วนะครับแต่เป็นทิศทางตรงกันข้ามกัน หลังจากนั้น ก็บินต่อไปเพื่อจะลากเส้นให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต่อเส้นจาก Runway ที่เราบินขึ้นมา ก็คือเลี้ยวขวาอีก 2 ครั้ง เพื่อกลับมาทาง Runway ที่เราบินขึ้นมา เรียกว่า บินวงจรหรือ Circuit นะครับ ----หวังว่าท่านที่ยังไม่มีความรู้ทางด้านการบินคงเข้าใจการบินวงจรแล้วนะครับ -----

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
การบินหลักๆของช่วงนี้ก็จะอยู่ที่พื้นที่การฝึก(Training Area) กับในวงจร (Circuit)เท่านั้นครับ ก่อนที่จะมีการปล่อยเดี่ยว (Solo Flight) เราก็ต้องบินให้ครูที่นั่งข้างเราตลอดในช่วงนี้เห็นว่า เราสามารถควบคุมเครื่องได้แล้วนะ น่าจะให้บินเดี่ยวได้รึยัง อะไรทำนองนี้ การฝึกในวงจรส่วนใหญ่ก็เป็นการ ฝึกขึ้นลงสนามแบบล้อแตะพื้นแล้วไปต่อ(Touch And Go) ตอนผมบินฝึกก็มีเพื่อนที่เริ่มเรียนพร้อมกันหลายคน มีสุภาพสตรีท่านนึงมาเรียนอายุประมาณ 45ปี มาเรียนเพื่อขอใบอนุญาต PPL  เธอเป็นผู้ใหญ่น่ารัก-พร้อมทำให้เพื่อนเฮฮาตลอด แม้แต่ตอนบินวงจร คือว่าตอนที่เราบินมาขนานกับ Runway ทิศทางตรงกันข้ามแล้วนั้น จะต้องมีการติดต่อวิทยุเพื่อบอกหอบังการ(Tower) ว่าเที่ยวนี้เราจะทำอะไรเช่น หยุดเลยรึเปล่า หรือ แตะแล้วจะไปต่อ ตอนนั้นเครื่องบินในวงจรมีประมาณ 7 ลำครับ ทุกลำก็ยุ่งกันมากแถมยังต้องคอยระวังกันอีก เธอก็พูดวิทยุบอกหอบังคับการว่า ตอนนี้เธออยู่ตำแหน่งนี้นะ เที่ยวนี้เธอจะทำ Bounce And Go (เด้ง แล้วไปต่อ) ทำให้ทุกลำเฮฮา สนุกสนานไปได้เหมือนกัน – ทั้งนี้ขอแนะนำว่า ไม่ควรพูดอะไรที่ผิดจากมาตราฐานในการติดต่อกับหอนะครับ----

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ต่อดีกว่าหลังจากนั้นก่อนที่จะมีการปล่อยเดี่ยวก็จะต้องสอบ Pre-Solo Exam ก่อนนะครับ สอบผ่านแล้วก็จะมีครูอีกท่านมาเช็คเราว่าพร้อมแล้วรึยัง ก็จะบินกับท่านที่เป็นครูตรวจสอบนี้ในวงจรอีก 2 -3 รอบ ถ้าดีท่านก็จะเป็นคนปล่อยเดี่ยวเราเลยครับ ผมเชื่อว่านักบินทุกคนจำวันปล่อยเดี่ยวของตัวเองได้ครับ ตื่นเต้น.. สนุก.. โอ๊ย...ทุกความรู้สึก ของผมครูถามว่ารู้รึเปล่าว่าจะได้ปล่อยเดี่ยวแล้วนะ แล้วก็บอกว่าเที่ยวต่อไปกลับมาลงเครื่องจะเบากว่านี้นิดนึงนะ แล้วครูก็บอกว่าปล่อยแกลงตรงนี้ได้เลย แล้วไปต่อเอง หอบังคับการบินก็จะตื่นเต้นไปกับเราด้วย รอบแรกให้เที่ยวเดียวบินในวงจรแล้วกลับมาลงเลย พอกลับมาหอยังคับการเค้าก็จะประกาศออกวิทยุเลย ว่าเราปล่อยเดี่ยวแล้ว ยินดีด้วยนะ....เริ่มจะบินเป็นแล้วนะเรา..

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
หลังจากบินแค่ในวงจรต่อจากนี้ก็จะเริ่มบินไกลขึ้นกว่าเดิม ออกไปในพื้นที่ฝึกมากขึ้น ก่อนที่จะมีการปล่อยเดี่ยวในพื้นที่ฝึกอีกครั้งก็จะต้อง Pre Area Solo Exam อีกตามเคยครับ หลังจากนี้ก็จะมีการปล่อยเดี่ยวในพื้นที่ฝึก Training Area Solo ออ ก่อนออกพื้นที่ฝึกก็ต้องมีสอบใบอนุญาตในการใช้วิทยุด้วยนะครับ อันนี้ก็เหมือนกันทั่วโลกครับเรียกว่า Flight Radio Operators License ครับ เก็บชั่วโมงหาความชำนาญต่อ ก่อนที่จะสอบ BAK ครับ เพื่อที่จะสอบภาคอากาศเพื่อออกใบอนุญาต GFPT ครับ GFPT อนุญาตให้นักเรียนการบินบินเดี่ยวในวงจร กับพื้นที่ฝึกได้ครับ.....ต่อไปจะเป็นส่วนที่ผมคิดว่าเป็นช่วงการเรียนบินที่สนุกของผมแบบสุดๆเลยครับ PPL นั่นเองครับ จะขอแบ่งเป็นภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัตินะครับ

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ขอโทษ ขอแทรกกลับมาเรื่องใบขับขี่อีกครั้ง รบกวนท่านที่อยู่ออสเตรเลีย ตอนนี้ช่วยเช็คให้หน่อยนะครับว่า ยังคงเหมือนตอนที่ผมอยู่รึเปล่า ว่าสิทธิ์ที่ได้ระหว่างใบขับขี่ที่แปล กับใบขับขี่ที่ทำที่ออสเตรเลียต่างกันอย่างไร เพราะตอนที่ผมอยู่จำได้ว่ามีสิทธิ ไม่เท่ากันอยู่นะครับ ลองเช็คดูครับ ไม่แน่ใจว่า ตอนเช่ารถ หรือตอนที่ทำประกันภัยรถ ซักอย่างนี่แหละครับ ขอโทษนะครับเห็นเขียนกันเรื่องนี้เลยอยากทราบขึ้นมาเหมือนกัน ----เรื่องมันนานมามากก แล้วครับ ขออภัยที่ให้รายละเอียดจุดนี้ไม่ได้นัครับ ขอบคุณครับ

Offline karn

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 47
ผมอยู่ที่ออสเตรเลียครับผม แล้วเรื่องใบแปลนั้นมีสิทธิเท่าเทียมกับใบขับขี่ของออสเตรเลียเลยครับ ยกเว้นแต่ใบแปลนั้นจะไม่มีpointให้โดนปรับแต่จะโดนปรับเงินทันทีที่ทำผิดกฏทันที และถ้าเราทำผิดมากเกินไปและโดนปรับบ่อยทางกงศุลสามารถจะระงับใบแปลของเราได้ครับ ใบแปลนั้นสามารถเช่ารถได้แต่ต้องมีบจริงแนบด้วยเวลาขอเช่ารถ ผมค่อนข้างมั่นใจนะครับผมเช่ามา2บริษัทแล้วไม่มีปัญหานะครับ(Avis, Eurocar) แต่ถ้าจะเช่ารถ 6ล้อต้องมีอายุเกิน25 ปีนะครับ

ในการซื้อรถนั้นไม่มีปัญหาครับถ้าเราแปลมาเรียบร้อยแล้ว และบริษัทประกันก็ไม่มีคิด rate เพิ่มแต่อย่างใด แต่ต้องระวังดีๆนะครับเวลาแปลแล้วต้องเก็บใบจริงและใบแปลอยู่ด้วยกันตลอดเวลา เพราะวันดีคืนดีตำรวจจะขอเราดูได้ ถ้าไม่มีโดนปรับหนักครับ และให้เดินกลับบ้านด้วย




Offline Patat

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 32
ขอบคุณพี่มากๆเลยนะคร๊าป

ผมจะรอติดตามตอนต่อไป


Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
เริ่มที่ภาคทฤษฎี ก็ต้องมาดูว่าใช้หนังสือเรียนอะไรบ้างนะครับ ตำราเรียนทางด้านการบินก็ทั่วไปตามแต่หลักสูตรของแต่ละโรงเรียนจะกำหนดนะครับ ที่อยากเน้นคือตำราหลักครับ ของไทยเรียนตามตรงว่าไม่ทราบครับ ของอเมริกาก็จะมี  FAR/AIM ครับ ของ Australia ก็จะมีดังนี้ครับ Aeronautical Information Publication (AIP), Civil Aviation Regulations (CAR), Civil Aviation Order (CAO), En-route Supplement of Australia (ERSA), Civil Aviation Advisory Publications (CAAPs) ครับ AIP จะเป็นตำราหลัก ซึ่งรวมรายละเอียดที่ต้องรู้ในการบินประเทศนั้นๆ ไว้ทั้งหมดครับ เรื่องใบอนุญาต ชั่วโมงที่ต้องการก่อนออกใบอนุญาต การสอบขอใบอนุญาต เอาง่ายๆ ว่าทั้งหมดที่ต้องรู้ครับ, คำถามชวนคิด ----ถามดีมั๊ย ตอนนี้นักบินที่ถือใบอนุญาตของไทย มี AIP ของประเทศไทยกี่คนครับ ข้างในมีเนื้อหาอะไรบ้างครับ มีกี่โรงเรียนการบินในประเทศไทย ที่สอน AIP และบอกเราถึงความจำเป็นที่ต้องมีมันอยู่ครับ-- --ขอให้คำถามนี้เป็นคำถามให้คิดต่อแล้วกันนะครับ ไม่ได้มีเจตนาให้เกิดข้อโต้เถียงหรือ ต่อว่าแต่อย่างไร เพราะประสบการณ์สอนว่าการที่ต่างประเทศจะยอมรับมาตรฐานการบินของประเทศเราหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่จำนวนอุบัติเหตุเภทภัยที่เกิดขึ้น แต่มาตรฐานในการแบ่งชั้นของการบินเค้าจะพิจารณาที่เนื้อหาตำรา และระเบียบกฏข้อบังคับของประเทศนั้นๆครับ เรามักจะได้ยินแต่ความคิดว่า “อยากให้ประเทศเราจะเป็นศูนย์กลางการเรียนบินในภูมิภาคนี้”  แต่เราทำอะไรเพื่อมารองรับมันบ้างล่ะครับ----ไม่เอาไม่พูดเรื่องการเมือง---AIP ของประเทศไทยสามารถหาซื้ออ่าน และเป็นสมาชิกได้ครับ ติดต่อกรมขนส่งทางอากาศครับ เพราะการที่เราจะบินเข้าประเทศใดๆนั้น เราควรจะรู้กฎ กติกา ระเบียบ ต่างๆของเค้าใช่มั๊ยครับ รายละเอียดขอไม่ลงลึกไปกว่านี้นะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นการบ่น + ก้าวก่าย...เฮ้อ !

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
ตอนที่ผมเรียน PPL นั้นเป็นช่วงที่ Australia เปลี่ยนกฎหมายทางการบินใหม่ บังคับให้นักบินทุกคนที่ถึงแม้ว่าจะมีความสามารถสร้างเครื่องบินเองได้ หรือ มีสนามบินของตัวเอง และ แม้กระทั่งทำการบินแต่ในบริเวณอาณาเขตพื้นที่ดินของตัวเองก็ตาม จะต้องมีใบอนุญาต PPL ทั้งหมด หลังจากนั้นค่อยไปแบ่งชั้นตามใบอนุญาตอีกที แต่พื้นฐานคือต้องมี PPL ครับ เพื่อนร่วมชั้นเรียนของผมจึงมากหน้า คละอายุ มีตั้งแต่ 17 ไปจน 50 กว่าก็มี พวกอายุน้อยก็จะเป็น พวกวัยรุ่นอยากเป็นนักบินทั้งหลาย (ผู้ร่วมอุดมการณ์) และ พวกอายุเยอะหน่อย----ก็พวกนี้เจ๋ง ประสบการณ์ในการบินเหลือเฟือ มีเครื่องบินเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของฟาร์มสัตว์ หรือไม่ก็สวนผลไม้ตามชนบทของ Australia ครับ บินพ่นยาฆ่าแมลงเองบ้าง บินนับแกะ บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกบินตามใจฉันมาตลอด พวกเค้าจึงแอบค่อนข้างเซ็งเล็กน้อย เมื่อโดนจับมาเรียนกฏระเบียบต่างๆ แต่เค้าก็เข้าใจ มองเห็นความสำคัญ และตั้งใจเรียนดีมาก ก็ถือว่าเป็นชั้นเรียนที่สนุกมากๆ เลยทีเดียว ก่อนเริ่มชั้นก็มีแนะนำกันตัวกันตามระเบียบ สรุปว่ามีผมหัวดำคนเดียวเลย การเข้าเรียนภาคทฤษฎีนั้นไม่ได้เป็นภาคบังคับของที่นี่นะครับ แต่เป็นแบบสมัครใจ ถ้ามีความสามารถในการอ่านหนังสือแล้วเข้าใจเองได้ สามารถสอบผ่านก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสียเงินในส่วนนี้ครับ สำหรับผมเรียนแน่นอนครับ

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
หลังจากนั้นก็จะมีการแนะนำว่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้เรียนมีอะไรบ้าง ---เอกสารประกอบการเรียนที่บอกไปข้างต้นเป็นแบบภาคบังคับต้องมีนะครับ ส่วนเอกสารอธิบายเสริม โรงเรียนควรจะทำแจกเพราะรวมอยู่ในค่าเรียนแล้วครับ----อุปกรณ์ก็เช่นแผนที่-ซื้อเฉพาะพื้นที่ที่เราใช้บินก่อนนะครับ อันนี้มีหลายมาตราส่วนก็เลือกใช้ตามความเหมาะสม เลือกตามที่โรงเรียนใช้แล้วกัน , Flight Computer –เครื่องคำนวณของนักบิน ครับ เรียกอีกอย่างว่า Wiz Wheel – วงเวียนพ่อมด คิดได้ทุกอย่างมีลักษณะเป็นวงกลมใช้หมุนไปหมุนมาเพื่อหาคำตอบที่ต้องการครับ, ไม้บรรทัดที่มีอัตราส่วน ที่ใช้บนแผนที่ อันนี้เพื่อใช้กับแผนที่ครับ การเรียนวิชาของ PPL นั้นก็จะแบ่งออกเป็น ดังนี้ครับ

Offline Patat

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 32
โปรดติดตามตอนต่อไป!

แฟนตัวยง O07

Offline sodasado

  • นักรบ
  • **
  • Posts: 141
รอติดตามฟังเหมือนกันครับ...!!!

Offline Perth

  • Co-Pilot TG
  • ทหารเลว
  • ***
  • Posts: 45
สวัสดีครับ
ก่อนอื่นขอขอบคุณ ที่เป็นกำลังใจและติดตามเรื่องราวของผมมาโดยตลอดนะครับ ตอนนี้ได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม แต่ด้วยเงื่อนไขบางอย่างจึงจำเป็นต้องขอยุติการโพสไว้แต่เพียงเท่านี้ นะครับ
สำหรับท่านที่มีคำถามอะไรที่อยากถาม กรุณาฝากข้อความมาทาง PM ได้นะครับ ถ้าผมมีเวลาว่างและช่วยตอบให้ได้ ยินดีเสมอครับ ขอบคุณครับ O07