Author Topic: *** เหตุการณ์ระหว่างสัมภาษณ์ pro ***  (Read 9697 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline ATJ

  • ประชาชน
  • Posts: 10
คือตอนผมกำลังเดินจุดอยู่อ่ะครับแล้วโปรถามคำถาม ผมได้ยินไม่ชัดเลยขอให้โปรทวนคำถามแต่ผมดันเผลอเงยหน้าไปสบตากับโปรด้วย..


พี่ๆคิดว่าเงยหน้าไปมองโปรระหว่างเดินจุดนี่ผิดหนักเลยหรือเปล่าครับเพราะผมรู้สึกว่า มันจะแสดงว่าเราไม่โฟกัสกับงาน  E08

Offline au

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 70
โปร TG ผมไม่ทราบนะครับ

ประสบการณ์ส่วนตัวขณะสอบ class 1 ทอ.

ผมซ้อมเดินจุดไปหนักมากครับ ซ้อมจนเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งโอลิมปิกเดินจุดได้เลย

ตอนสอบ คุณหมอเคาะเร็วประมาณ 140 BPM สบายๆช้ากว่าที่ผมซ้อม

เริ่มถามคำถามไปเรื่อยให้คิดนู่น คิดนี่ ทุกคำตอบผมเงยหน้าขึ้นไปตอบหมอครับ เพราะมันชิน ซ้อมมาเร็วกว่านี้และหลายรอบมาก

แต่ในขณะที่เงยหน้าขึ้นไปตอบมือผมยังเดินได้ปรกตินะครับ

คำถามแรกเงยหน้าขึ้นตอบ หมอก็มองผมเฉยๆ

คำถามที่สองเงยหน้าขึ้นตอบ หมอเริ่มมองแปลกๆ

คำถามที่สามเงยหน้าขึ้นตอบ หมอมองหน้าผมแล้วมองไปที่มือผมที่กำลังเดินไปได้อย่างปรกติ

สีหน้าและแววตาคุณหมอขณะนั้นบอกผมว่าว่า " นี่ขนาดเมิ...เงยหน้าขึ้นมาตอบ ตาไม่ได้มองกระดาษแล้วนะ แต่มือเมิ...ยังเดินไปได้แบบปรกติเหรอ "

หลังจากนั้นหมอก็บอกให้พอทันที (ในใจตอนนั้นแอบฟินเล็กๆ ความสามารถพิเศษ หมอเห็นฝีมือเราแล้ว ผ่านชัวร์  O30 ) ชวนคุยเล็กน้อยแล้วก็จบการทดสอบ

ผมเดินออกมาแบบสบายใจ คิดในใจ 555 ผ่านชัวร์ คุณหมอถึงกับตะลึง ตาไม่มองกระดาษ แต่มือยังเดินได้

หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ประกาศผล









ปรากฏว่า " ตก "    O32

เหตุผลที่ตกไซโคมอเตอร์  ตอนนั้นงงมาก ไม่รู้มันแปลว่าอะไร google. ก็ไม่มี  หรือดวงจะไม่ได้เป็นนักบิน O21

พอผ่านไป 4 เดือนมาคิดย้อนหลังก็ตลกตัวเอง  O34 มันก็สมควรตกอยู่หลอกครับ มีที่ไหน เงยหน้าขึ้นมาคุยกับหมอ แต่มือยังเดินได้ปรกติ  O30


Offline MEE

  • Co-Pilot TG
  • ขุนศึก 9 ทัพ
  • ***
  • Posts: 359
คิดมากไปนะครับ

ว่าแต่เงยหน้ามาแล้วจะเดินจุดยังไงอ่ะครับ มันต้องดูแล้วจิ้มไม่ใช่เหรอครับ

Offline ATJ

  • ประชาชน
  • Posts: 10
เงยหน้ามาแค่ประมาณวิเดียวอ่ะครับ เลยพอกะจังหวะจุดได้อยู่

Offline miracle

  • ประชาชน
  • Posts: 16
ถ้าเงยมาแล้วไม่ได้เดินผิดพลาดอะไรน่าเกลียด ผมว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรนะ  อยย่าไปคิดมาก นี่แหละธรรมชาติของคนปกติ

แต่ถ้าเงยมองหน้าเค้าจนเสียงานเสียการ จนเดินผิดพลาดหรือไม่ได้ทำอย่างอื่นที่เค้าให้ทำ  อันนี้ผมว่าค่อยมีผลหน่อย
ทำใจสบายๆ เถิดครับ

Offline artnomonman

  • ประชาชน
  • Posts: 10
โปร TG ผมไม่ทราบนะครับ

ประสบการณ์ส่วนตัวขณะสอบ class 1 ทอ.

ผมซ้อมเดินจุดไปหนักมากครับ ซ้อมจนเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งโอลิมปิกเดินจุดได้เลย

ตอนสอบ คุณหมอเคาะเร็วประมาณ 140 BPM สบายๆช้ากว่าที่ผมซ้อม

เริ่มถามคำถามไปเรื่อยให้คิดนู่น คิดนี่ ทุกคำตอบผมเงยหน้าขึ้นไปตอบหมอครับ เพราะมันชิน ซ้อมมาเร็วกว่านี้และหลายรอบมาก

แต่ในขณะที่เงยหน้าขึ้นไปตอบมือผมยังเดินได้ปรกตินะครับ

คำถามแรกเงยหน้าขึ้นตอบ หมอก็มองผมเฉยๆ

คำถามที่สองเงยหน้าขึ้นตอบ หมอเริ่มมองแปลกๆ

คำถามที่สามเงยหน้าขึ้นตอบ หมอมองหน้าผมแล้วมองไปที่มือผมที่กำลังเดินไปได้อย่างปรกติ

สีหน้าและแววตาคุณหมอขณะนั้นบอกผมว่าว่า " นี่ขนาดเมิ...เงยหน้าขึ้นมาตอบ ตาไม่ได้มองกระดาษแล้วนะ แต่มือเมิ...ยังเดินไปได้แบบปรกติเหรอ "

หลังจากนั้นหมอก็บอกให้พอทันที (ในใจตอนนั้นแอบฟินเล็กๆ ความสามารถพิเศษ หมอเห็นฝีมือเราแล้ว ผ่านชัวร์  O30 ) ชวนคุยเล็กน้อยแล้วก็จบการทดสอบ

ผมเดินออกมาแบบสบายใจ คิดในใจ 555 ผ่านชัวร์ คุณหมอถึงกับตะลึง ตาไม่มองกระดาษ แต่มือยังเดินได้

หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ประกาศผล









ปรากฏว่า " ตก "    O32

เหตุผลที่ตกไซโคมอเตอร์  ตอนนั้นงงมาก ไม่รู้มันแปลว่าอะไร google. ก็ไม่มี  หรือดวงจะไม่ได้เป็นนักบิน O21

พอผ่านไป 4 เดือนมาคิดย้อนหลังก็ตลกตัวเอง  O34 มันก็สมควรตกอยู่หลอกครับ มีที่ไหน เงยหน้าขึ้นมาคุยกับหมอ แต่มือยังเดินได้ปรกติ  O30






ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมทางการด้านการเคลื่อนไหว (Movement) เช่น การวิ่ง การกระโดด การเดิน การขับรถ การเต้นรำ การเปิดประตู เป็นต้น โดยฮาร์โรได้แบ่งระดับของจุดมุ่งหมาย ทางด้านทักษะ โดยเรียงจาก ระดับต่ำสุดถึงระดับสูงสุด 6 ระดับ ดังนี้ระดับพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย มีรายละเอียดในแต่ละระดับ ดังต่อไปนี้
1. การเคลื่อนไหวเชิงกิริยาสะท้อนกลับ (Reflex movements) ซึ่งได้แก่
1.1 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลังส่วนหนึ่ง (Segmental reflexes) เช่น การเคลื่อนไหวของแขนหรือขา เป็นต้น
1.2 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลัง มากกว่าหนึ่งส่วน (Intersegmental reflexes) เช่น การเคลื่อนไหวของแขน และขาในเวลาเดินหรือวิ่ง เป็นต้น
1.3 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลัง และ สมองร่วมกัน (Segmental Reflexes) เช่น การทรงตัวของร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ สมดุล ในขณะเคลื่อนไหว เป็นต้น
2. การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน (Basic - fundamental Movements) ซึ่งได้แก่
2.1 การเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง (Locomotor Movements) เช่น เดิน วิ่ง กระโดด เป็นต้น
2.2 การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ (Non - locomotor Movements) เช่น การเคลื่อนไหวของ นิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น
2.3 การเคลื่อนไหวเชิงบังคับ โดยกิริยาสะท้อนหลายอย่างร่วมกัน (Manipulative Movement) เช่น การเล่นเปียโน การพิมพ์ดีด เป็นต้น
3. ความสามารถในการรับรู้ (Perceptual abilities) ซึ่งได้แก่
3.1 การรับรู้ความแตกต่างการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinesthetic discrimination) เช่น การรับรู้การกำมือ การงอเข่า การกระพริบตา เป็นต้น
3.2 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการเห็น (Visual discrimination) เช่น ความสามารถในการเห็นความแตกต่าง ของวัตถุที่สังเกตได้ เป็นต้น
3.3 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการได้ยิน (Auditory discrimination)เช่น ความสามารถ ในการจำแนกความแตกต่าง ของระดับเสียง หรือทิศทางของเสียงที่ได้ยิน เป็นต้น
3.4 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการสัมผัส (Tactile discrimination) เช่น ความสามารถ ในการบอกลักษณะของวัตถุที่สัมผัส ว่า หยาบเรียบ แข็ง หรืออ่อน เป็นต้น
3.5 ความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้ร่วมกัน (Coordinated abilities) เช่น ความสามารถในการใช้และประสาท ส่วนอื่น ๆ เพื่อร่วมมือกันในการเลือกหาวัตถุที่ต้องการ เป็นต้น
4. สมรรถภาพทางกาย (Physical abilities) ซึ่งได้แก่
4.1 ความทนทาน(Endurance) เช่น ความทนทานของร่างกายในการวิ่งแข่งมาราธอน เป็นต้น
4.2 ความแข็งแรง (Strength) เช่น ความแข็งแรงของแขนในการยกน้ำหนัก เป็นต้น
4.3 ความยืดหยุ่น (Flexibility) เช่น ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อแขนขาในการเต้นรำ เป็นต้น
4.4 ความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว (Agility) เช่น ความฉับไวในการเปลี่ยนทิศทาง การเคลื่อนไหว เป็นต้น
5. การเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยทักษะ (Skilled movements)
5.1 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่ทำได้ง่าย (Simple adaptive skill) เช่น ทักษะการเลื่อยไม้ เป็นต้น
5.2 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่ทำไปพร้อม ๆ กัน (Compound adaptive skill) เช่น ทักษะในการตีแบดมินตัน เทนนิส เป็นต้น
5.3 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่มีลักษณะซับซ้อนมาก (Complex adaptive skill ) เช่น ทักษะการเล่นยิมนาสติก เป็นต้น
6. การสื่อสารที่ต้องใช้ทักษะระดับสูงในการแสดงออก (Non-discursive Communication) ซึ่งได้แก่
6.1 การเคลื่อนไหวในเชิงแสดงออก (Expressive movement) เช่น การแสดงออก ทางสีหน้า หรืออากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ
6.2 การเคลื่อนไหวในเชิงตีความ (Interpretative movement) เช่น การเคลื่อนไหวใน เชิงสุนทรียภาพ หรือการเคลื่อนไหวในเชิงสร้างสรรค์

FYI ครับ

Offline au

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 70

Offline Capt.Anthony

  • TG SP 2014
  • ประชาชน
  • ***
  • Posts: 2
ระหว่างสัมภาษณ์กะโปรอย่างเมามันส์ ขอโปรเข้าห้องน้ำ พร้อมปัสสาวะเสียงดังครับนี่คือเหตุการณ์ขอผมครับ