Author Topic: ไทยไทเกอร์ส่อล้มMOU5เดือนไม่คืบ  (Read 5438 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline worrachatr_p

  • ทหารเลว
  • *
  • Posts: 46
  • Clear for take off
ไทยไทเกอร์ส่อล้มMOU5เดือนไม่คืบ



วันพุธที่ 19 มกราคม 2011 เวลา 09:34 น.

ระทึก! ตั้งไทย ไทเกอร์ หลังเซ็นเอ็มโอยูครั้งที่ 3 หมดอายุวันที่ 21 มกราคมนี้ เผยภายในสัปดาห์นี้ไม่คืบ ส่อเค้าล้มดีลแน่ โดยท่าทีล่าสุดไทเกอร์โฮลดิ้งแสดงออกชัดไม่แฮปปี้ โอดแผนธุรกิจไม่ได้เป็นไปในรูปแบบปกติ  ด้าน อธิบดี บพ.ยันไม่ทันแน่ เพราะบินไทยต้องแจงรายละเอียดอีกถี่ยิบ ชี้ชัดแผนร่วมทุนเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 35     
 แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากความล่าช้าของแผนการร่วมทุนในการจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ไท ไทยเกอร์  ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างการบินไทยกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้ง (สิงคโปร์) ยังไม่มีความคืบหน้าหลังจากเซ็น เอ็มโอยูแผนร่วมทุนแล้วร่วม 5 เดือน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 และได้มีการต่ออายุสัญญามาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งล่าสุดการต่อสัญญาเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจะสิ้นสุดในวันที่ 21 มกราคมนี้ ซึ่งคาดว่าไทเกอร์แอร์เวย์ส อาจจะถอดใจไม่ร่วมทุนกับการบินไทยถ้าหากภายในสัปดาห์นี้ยังไม่มีความคืบหน้า ของแผนการจัดตั้ง
  เนื่องจากท่าทีล่าสุด ไทเกอร์แอร์เวย์ส ไม่แฮปปี้นัก จากความล่าช้าที่เกิดขึ้น และได้แสดงความคิดเห็นผ่านหนังสือต่อสัญญาก่อนหน้านั้น เพราะไม่ค่อยแน่ใจว่าการบินไทยจะจัดตั้งสายการบินไท ไทยเกอร์ได้สำเร็จหลังกระทรวงคมนาคม ไม่ยอมนำเรื่องที่การบินไทย ยื่นของบลงทุนในโครงการดังกล่าว วงเงิน 99.8 ล้านบาทให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อนุมัติตามระเบียบว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2550
 แหล่งข่าวคนเดิมยังกล่าวอีกว่า   โดยไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้ง เห็นว่ากระบวนการล่าช้าก็ส่งผลต่อการขยายธุรกิจของไทเกอร์ โฮลดิ้งด้วยเช่นกัน ซึ่งเขาก็ได้มองการไปร่วมทุนที่อื่นด้วย เนื่องจากเห็นว่าได้ให้เวลานานพอสมควรแล้ว  อีกทั้งยังเห็นว่ากระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่มี ปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นแผนธุรกิจในรูปแบบปกติทั่วไป ขณะที่คู่แข่งในตลาดโลว์คอสต์แอร์ไลน์เริ่มขยายตัว โดยเฉพาะการจัดตั้งโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ในอินเดีย ที่สามารถขอสิทธิการบินเข้าไทยได้แล้ว ซึ่งความล่าช้าในการจัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์ไลน์ส จึงไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด ในส่วนการบินไทยก็ถือเป็นการเสียโอกาสในการชิงส่วนแบ่งตลาดโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ ซึ่งได้รับความเสียหายเช่นกัน
 "ที่ผ่านมาการบินไทยได้ชี้แจงและแก้ไขข้อสงสัยต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคมมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น ใหม่ คณะกรรมการ ล่าสุดยังตั้งประเด็นว่าการร่วมทุนเกิน 1,000 ล้านบาท เนื่องจากมีการเช่าเครื่องบิน 20 ลำ เป็นเงิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนหรือราว 150 ล้านบาท ซึ่งการบินไทยได้นำเสนอความเห็นที่ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐ วิสาหกิจ(สคร.) ตีความว่าการร่วมทุนดังกล่าวไม่ได้ติดปัญหาตามพ.ร.บ.รัฐร่วมทุนปี 2535 เนื่องจากเครื่องบินที่จะนำมาให้บริการไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐ เพราะเป็นการไปเช่ามาดำเนินงานไม่ใช่นำเครื่องบินของรัฐให้คนอื่นเช่า และการร่วมทุนจัดตั้งบริษัทกำหนดทุนจดทะเบียนเริ่มต้นไว้ที่ 200 ล้านบาท สูงสุดไม่เกิน 900 ล้านบาท บินไทยลงทุนเริ่มต้นที่ราว 100 ล้านบาท และสูงสุดไม่เกิน 450 ล้านบาท  แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว
 ด้านนายสมชาย จันทร์รอด อธิบดีกรมการบินพลเรือน หรือบพ. เผยว่า กระทรวงคมนาคม ไม่สามารถนำแผนดังกล่าวเสนอแก่ สศช.ได้ทันตามกำหนด ที่การบินไทยเร่งรัดให้ดำเนินการก่อนเอ็มโอยูที่เซ็นไว้กับไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้งจะหมดอายุ เพราะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และต้องมีรายละเอียดของเอ็มโอยู แผนการบินให้บพ.พิจารณาอย่างละเอียด  ปัจจุบันหลายเส้นทางบางประเทศก็ไม่อนุญาตให้โลว์คอสต์เข้ามาเปิดบินแล้ว เช่น พม่า,ญี่ปุ่น เพราะส่งผลกระทบต่อสายการบินแห่งชาติของประเทศนั้นๆ
 แต่หากการบินไทยยืนยันจะร่วมทุนก็ต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.รัฐร่วมทุนปี 2535 เพราะสำนักยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมตีความไว้ว่าเข้าข่าย และการบินไทยต้องรอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติวงเงินลงทุนเพื่อนำเสนอสศช. แต่หากการบินไทยยังยืนยันว่าไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ดังกล่าว หรือจะทำเรื่องของบลงทุนกับสศช.โดยตรงโดยไม่ผ่านกระทรวง จนเกิดการตีความเรื่องการใช้จ่ายที่ผิดระเบียบเกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องที่การบินไทยต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดตามมาในอนาคตเอง
 อนึ่งการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)ระหว่างการบินไทย และ Tiger Airways Holdings Limited (Tiger) ของประเทศสิงคโปร์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2553 ในการร่วมทุน จัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส เพื่อหวังชิงส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ของการบินไทย โดยในเอ็มโอยู กำหนดว่าการบินไทยมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐและ ผู้มีอำนาจอนุมัติต่างๆและจัดหาใบสำคัญการเดินอากาศ ส่วนไทเกอร์ แอร์เวย์ส จะเป็นผู้จัดทำแผนธุรกิจ 3 ปี ระบบการขาย แบรนด์ การบริหารรายได้ การพัฒนาเส้นทางบิน ความชำนาญในการบริหารจัดการสายการบิน การคัดเลือกและฝึกนักบิน/ลูกเรือ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,602  20-22  มกราคม พ.ศ. 2554

Offline DuraSail

  • จิตใจของฉันแข็งแกร่งดั่ง
  • Moderator
  • ราชาเทวะ
  • ***
  • Posts: 2,592
เฮ้อ จัดไป ท่านไม่เสนอเสียอย่าง ใครก็ทำอะไรท่านไม่ได้นั่นแหล่ะ แต่DD เราก็ได้รางวัลการบริหารโน่นนี่นั่น ท่านก็ต้องไปก่อนวาระ DD อยู่ดี จะดึงดันเอาอะไรหว่า

Offline oldjet

  • ขุนศึก 9 ทัพ
  • ***
  • Posts: 310
แง้ๆๆอย่างนี้น้องๆนักบินที่รอจะสมัครก้อแง้วๆๆไปตามๆกัน O21 O21